วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ในการศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสนครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้มีโอกาศศึกษาดูงานนอกสถานศึกษา และเป็นโรงเรียนที่เป็นต้นแบบของการใช้กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนของดิฉัน ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ดิฉันได้รับโอกาศอันดี ในการเข้าไปสังเกตการเรียนการสอน และการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด ได้รับรู้ถึงบรรยากาศของการทำกิจกรรมของครูและเด็กในห้องเรียนผู้ริเริ่ม กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมน.ส.ราศรี ทองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เป็นนักการศึกษาที่ริเริ่มนำ 6 กิกรรมหลักมาใช้ในการเตรียมความพร้อมของเด็ก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2518 และได้แพร่หลายไปทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาด้านปฐมวัยกิจกรรมทั้ง 6 แยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้กิจกรรมเบา-กิจกรรมการเล่นตามมุม-กิจกรรมกลางแจ้ง-กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์กิจกรรมหนัก-กิจกรรมเสริมประสบการณ์-กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ-เกมการศึกษาห้องเรียนที่ดิฉันได้ศึกษาดูงานนั้นคือ อนุบาล1/3 ห้องครูโบว์ มีนักเรียนทั้งหมด 33 คนนักศึกษาฝึกสอน 3 คนดิฉันได้ไปสังเกตในขณะที่เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยคุณครูแบ่งโต๊ะออกเป็น 4 โต๊ะโดยแต่ละโต๊ะจะมีเก้าอี้ว่างอยู่ 1 ตัว เพื่อให้เด็กได้หมุนเวียนกัน-โต๊ะแรกก็จะเป็นการวาดรูปตามจินตนาการโดยใช้สีเทียน-โต๊ะที่ 2 เป็นกิจกรรมฉีก ติด ปะ-โต๊ะที่ 3 เป็นกิจกรรมต่อเติมภาพ โดยใช้กล้วยเป็นแบบ-โต๊ะที่ 4 เป็นกิจกรรมตัด ปะโดนครูมีการตัดกระดาษเป็นวงกลม แล้วสามเหลี่ยม แล้วให้เด็กทากาวแล้วติด เข้าด้วยกัน และจากนั้นก็นำไม้ไอติมมาติดเป็นด้ามกิจกรรมที่สองคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ ครูให้เด็กเคลื่อนส่วนต่างๆของร่างกายตามจินตนาการโดยมีการเคาะจังหวะเพื่อให้เด็กฟังแล้วเคลื่อนไหวตาม...

เล่าไปวาดไป

นิทานเรื่องดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)
ดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)...มีคุณยายคนหนึ่ง คุณยายคนนี้เป็นคนจรจัดไม่มีที่อยู่อาศัย คุณยายจึงเดินเร่ร่อนไปเรื่อยๆคุณยายจึงเร่ร่อนไปเรื่อยๆ คุณยายมีถุงผ้าใบใหญ่ประจำตัวอยู่ใบหนึ่ง เวลาที่คุณยายเดินไปไหน ก็จะเก็บสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งตามกองขยะใส่ถุงผ้าของคุณยาย เช่น วิทยุเก่า ถ้วยเก่า จานเก่า แม้แต่เมล็ดพืขต่างๆ คุณยายยังเก็บใส่ถุงผ้าของคุณยายเลย...และเวลาเดินไป คุณยายก็จะบ่นว่า เบื่อๆ ๆ ๆ ๆ เบื่อโลกมนุษย์ เบื่อผู้คนเหลือเกิน อยากอยู่คนเดียว เบื่อจริงๆ...อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่คุณยายเดินบ่นๆๆๆๆๆไป ในทุ่งนานนั่นเองก็เกิดพายุหมุนมา หมุนเอาตัวคุณยายลอยออกไปนอกโลก...แล้วไปตกปุ๊กลงที่ดาวดวงหนึ่ง ดาวดวงนั้น เป็นดวงดาวเล็กๆ คุณยายจึงออกสำรวจดูว่ามีใครอาศัยอยู่บนดาวดวงนี้หรือเปล่า...คุณยายเดินไปด้านหนึ่งของดาว เจอต้นไม่ประหลาดต้นหนึ่ง เพราะทั้งต้นทีใบอยู่เพียงใบเดียว และคุณยายเดินไปอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีกคุณยายจึงย้ายมาสำรวจอีกด้านหนึ่งของดวงดาว ก็พบต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก คุณยายจึงเดินต่อไปพบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก...และคุณยายก็กลับมาที่เดิม คุณยายดีใจมาก เพราะดวงดวานี้ทั้งไม่มีคนอาศัยอยู่เลยคุณยายจึงลงมือสร้างกระท่อม ทำหน้าต่าง ตั้งเสาโทรทัศน์ ตั้งเสาวิทยุ แล้วคุณยายก็ขุดหลุม ปลูกผักไว้กินที่หน้าบ้านของคุณยายนั่นเอง...ไม่กี่วันต่อมา ผักที่คุณยายปลูกก็เจริญเติบโตขึ้นจนเต็มลานหน้าบ้านคุณยายไปหมดคุณยายอยู่บนดวงดาวนั้นด้วยความสุขดาวเต่าทองภาพที่1 ผู้วาดภาพประกอบนิทานเรื่องนี้ ไม่ต้องวาดรายละเอียดก็ได้เพียงแต่ใช้จุดแทนเท่านั้นภาพที่2 แล้วคุณยายก็โดนพายุพัดไปตกดวงดาวดวงหนึ่งภาพที่3 คุณยายจึงออกสำรวจไปเจอต้นไม้ที่มีใบ อยู่ใบเดียว 3 ต้นภาพที่4 และอีก 3 ต้นภาพที่5 คุณยายจึงสร้างบ้านเปิดหน้าต่าง 2 บาน ตั้งเสาทีวี และเสาวิทยุภาพที่6 นำเมล็ดผักไปปลูกไว้ลานหน้าบ้านภาพที่7 ขุดคลองและสร้างถนนสำหรับรดน้ำภาพที่8 ต่อมาผักก็โตขึ้นๆ ก็จะได้ภาพดาวเต่าทองประกอบนิทาน

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการมาเรียน7/01/2552

การจัดสภาพแวดล้อมจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ*มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเองบทบาทของครูเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือบรรยากาศการสอนแนวใหม่เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้องการประเมินผลครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา
วันพุธ ที่17 เดือนธันวาคม2551
สวัสดีค่ะวันนี้ก็มีหลายเรื่องนะคะที่ได้เรียนในวันนี้..
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวมอ่านเขียน เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมดมีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็กความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียนภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมา

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

[บันทึกการเข้าเรียน วันที่3 ธันวาคม 2551

กระบวนการ-การสร้างบรรยายกาศการเรียน มีลักษณะความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิด ด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยกันทำหน้าที่ในส่วนใด-การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว(Long-range plans) เพื่อเป็นการวางกรอบความคิดกว้างๆ-การวางแผนระยะสั้น(Shorth-range plans) โดยเด็กๆและครูจะสามารถใช้ความคิด พูดคุยกันได้-การฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาศได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่าเด็กยังไม่สามารถพูดได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดจากแม่ได้ เพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินเสียง ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยินเด็กวัย2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดี การสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างในการส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีมากยิ่งขึ้นภาษามีบทบาทในการสื่อความคิด รวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตนได้ เป็นอย่างดี-การอ่านและการเขียนการอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้โอกาศเด็กเรียนรู้ เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตาม ตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ในประเด็นในเรื่องที่อ่าน ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง(องค์รวม)ครูควรสนทนากับเด็กด้วยภาอย่างง่ายๆด้วยเนื้อหา ที่มีความสัมพันธืกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก และครูควรพยายามเชื่อมโยง กับประสบการณ์ของเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษากับชีวิตจริง-จึงกล่าวไว้ว่าการเขียนหมายถึง การสื่อสารเมื่อแสดงความคิด ความรู้สึก ออกมาอย่างมีความหมาย-ครูจะต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบ โดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิด แต่เป็นการ ฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการเขียนที่ออกมาจากความคิด ภาษาที่ได้จากการฝึกคิด และถ่ายทอดความคิดออกมาเป็น ภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติ จากการฟังมาก ได้อ่านมาก และสามารถถ่ายทอดได้เอง และค่อยมาคำนึงถึงความสวยงาม และความถูกต้องสวยงาม...

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 26 พค. 2551
อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ การสอนแนวคิดภาษาโดยแนวคิดองค็รวมมีลักษณะเป็นปรัญชา และ ทฤษฎีเรื่องธรรมชาติ และนอกจากนี้อาจารย์ยังได้ให้นักศึกษาทุกคนบอกถึงสิ่งของที่ตนเองรักที่สุดหนึ่งอย่างโดยการออกมาบอกเพื่อนๆหน้าห้องเรียน และให้บอกเหตุผลด้วยว่าเพราะอะไรถึงรักของสิ่งนี้ เป็นการฝึกการแสดงออก

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเรียน

วันพุธที่แล้ว อาจารย์จินตนาได้สอนให้ทำสื่อเกี่ยวกับนิทานและหุ่น สำหรับเด็กปฐมวัย คือ สอนให้พับกระดาษเป็นรูปต่างๆ เป็นภาพ3มิติ เพื่อที่จะได้ไปใชสอนเด็กต่อไป นอกจากนี้อาจารย์ยังให้ร้องเพลงของเด็กปฐมวัยคนละ 1 เพลง และโฆษณาสินค้า คนละ 1 ชิ้น